BI : 551459004 : นางสาวเมธาวี คำมีสว่าง
วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556
บทความเรื่อง บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
บทความเรื่อง บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตปัจจุบัน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นรู้จักกันมากในหมู่วัยรุ่น ซึ่งคนไทยรู้จักกันก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ นั่นเอง ไม่ค่อยนิยมเรียกกันมากนัก
ส่วนใหญ่มักจะเรียกกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารเทศ คือ
เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสาเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก
และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือว่าเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก
(เทคโนโลยีสารสนเทศ เทศโนโลยีนาโน เทคโนลีชีวภาพ)
ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบันมีผู้กล่าวถึง
เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆว่า ไอที(IT) รัฐบาลไทยก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก
จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนีขื้น
ชื่อกะทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและกาสื่อสารหรือเรียกย่อๆว่า กระทรวงไอซีที
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก
เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ
ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย
มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ
มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว
ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ
รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ
เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ
ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร
ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง
มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่งดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้
จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ
มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที
ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้
แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก
ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
-เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
-เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
-เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นสภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง
บทความเรื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษาตลอดชีวิต
บทความเรื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษาตลอดชีวิต
ในโลกยุคปัจจุบันนี้ได้ชื่อว่าเป็นโลกยุคของข้อมูลข่าวสารเนื่องมาจากการติดต่อเรื่องราวข่าวสารต่าง
ๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยความเจริญก้าวทางด้านเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างมากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง
ๆ ได้เปลี่ยนจากที่ครูเป็นศูนย์กลางมาสู่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องได้รับความรู้จากครูในห้องเรียนเท่านั้นแหล่งความรู้อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ชุมชน เพื่อน ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่
เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี
คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย
มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น
รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere :การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้น
เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้น
ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา
ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า
เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น
เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา
การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง
ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน
รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ
ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี
การศึกษา
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค
ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ
ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น
เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย คือ
1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
เทคโนโลยีสมัยใหม่การศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่
เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง
ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น
ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ
มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง
การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การศึกษา หมายความว่า
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก
การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม
สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์
และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา
มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร
การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่
ส่วนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตนั้น
พบว่ารูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียนของประเทศด้อยพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา
ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชน ได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการศึกษา เพราะประชาชนที่มีฐานะดีเท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการศึกษา
ส่วน คนยากจนขาดโอกาสในการศึกษา แม้รัฐบาลต่างๆ
ได้ทุ่มเทงบประมาณการศึกษาสูงมากก็ตาม แต่การศึกษาไม่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
การศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะผู้อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล รัฐบาลยิ่งพัฒนาคนรวยกลับรวยยิ่งขึ้น
คนจนกลับจนลง จึงทำให้มีการเรียกร้อง ให้มีการปฏิรูปการศึกษา
มนุษย์เรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต
นั้นคือการรวมเอาการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) นอกระบบโรงเรียน (Informal Education)เข้าด้วยกัน คนเราสามารถเลือกศึกษาได้ในช่วงเวลาต่างๆ
ของชีวิตตามความเหมาะสม การศึกษา และการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งไม่ว่าจะ
ในครอบครัว วัด ชุมชน สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ และแหล่งวิชาต่างๆ
การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นความจำเป็นของมนุษย์ปัจจุบัน
การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ
ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ
อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้
ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่ายิ่งที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จำเป็นในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป
วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ตารางบันทึกรายจ่ายปี 2555 - 2558
ตารางรายจ่ายชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555
ภาคเรียน
|
รายการ
|
รายจ่าย/บาท
|
ปี 1 ภาคเรียนที่ 1
|
1.ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
2.ค่าเทอม
3.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
5.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่าเสื้อกิจกรรม
ฯลฯ)
|
4,200
5,000
4,000
16,000
1,500
|
รวม
|
30,700
|
|
ปี 1 ภาคเรียนที่ 2
|
1.ค่าเทอม
2.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
3.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่ารายงาน กิจกรรม
ฯลฯ)
|
5,000
4,000
16,000
2,000
|
รวม
|
27,000
|
|
รวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555
|
57,700
|
ตารางรายจ่ายชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556
ภาคเรียน
|
รายการ
|
รายจ่าย/บาท
|
ปี 2 ภาคเรียนที่ 1
|
1.ค่าเทอม
2.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
3.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่ารายงาน กิจกรรม
ฯลฯ)
|
5,000
4,000
16,000
3,000
|
รวม
|
28,000
|
|
ปี 2 ภาคเรียนที่ 2
|
1.ค่าเทอม
2.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
3.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่ารายงาน กิจกรรม
ฯลฯ)
|
5,000
4,000
16,000
3,000
|
รวม
|
28,000
|
|
รวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556
|
56,000
|
ตารางรายจ่ายชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557
ภาคเรียน
|
รายการ
|
รายจ่าย/บาท
|
ปี 3 ภาคเรียนที่ 1
|
1.ค่าเทอม
2.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
3.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่ารายงาน กิจกรรม
ฯลฯ)
|
5,000
4,000
16,000
3,000
|
รวม
|
28,000
|
|
ปี 3 ภาคเรียนที่ 2
|
1.ค่าเทอม
2.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
3.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่ารายงาน กิจกรรม
ฯลฯ)
|
5,000
4,000
16,000
3,000
|
รวม
|
28,000
|
|
รวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557
|
56,000
|
ตารางรายจ่ายชั้นปีที่
4 ปีการศึกษา 2558
ภาคเรียน
|
รายการ
|
รายจ่าย/บาท
|
ปี 4 ภาคเรียนที่ 1
|
1.ค่าเทอม
2.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
3.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่ารายงาน กิจกรรม
ฯลฯ)
|
5,000
4,000
16,000
3,000
|
รวม
|
28,000
|
|
ปี 4 ภาคเรียนที่ 2
|
1.ค่าเทอม
2.ค่าหอพักเดือนละ 1,000 บาท 4 เดือน
3.ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประมาณเดือนละ 4,000 บาท 4 เดือน
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น ค่ารายงาน กิจกรรม
ฯลฯ)
|
6,500
4,000
16,000
3,000
|
รวม
|
28,000
|
|
รวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558
|
56,000
|
รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา
4 ปี โดยประมาณ 225,700 บาท
# หมายเหตุ
-เนื่องจากยังไม่ยังทราบค่าเทอมที่แน่นอนจึงขอประมาณเป็น 5,000 บาท โดยอ้างอิงจากค่าเทอมภาคเรียนแรก
-ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายโดยประมาณ อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่นๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)